เมนู

สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก


อรรถกถาปาราชิกกัณฑ์


ในภิกขุนีวิภังค์


เพราะมาถึงลำดับแห่งการสังวรรณนา
ภิกขุนีวิภังค์ ของพวกภิกษุณี ที่พระธรรม
สังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้ใน
ลำดับแห่งภิกขุวิภังค์ ฉะนั้น เพื่อทำการ
พรรณนาบทที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ในปาราชิก
แห่งภิกขุนีวิภังค์นั้น จึงมีการสังวรรณนา
เริ่มต้น ดังต่อไปนี้.


ปาราชิกสิกขาบทที่ 1


แก้อรรถปฐมปาราชิกสิกขาบทของพวกภิกษุณี

ในคำว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ ฯ เป ฯ
สาฬฺโห มิคารนตฺตา
นี้ คำว่า สาฬฺโห เป็นชื่อของมิคารนัดดานั้น
เพราะเขาเป็นหลานของนางวิสาขามิคารมารดา. ด้วยเหตุนั้น พระธรรม
สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า มิคารนตฺตา.
บทว่า นวกมฺมิกํ แปลว่า ผู้อำนวยนวกรรม.
บทว่า ปณฺฑิตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.
บทว่า พฺยตฺตา แปลว่า ประกอบด้วยความเป็นผู้เฉียบแหลม.

บทว่า เมธาวินี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญามีสติเป็นหลักในการ
เรียนบาลี (และ) ด้วยสติปัญญาเป็นหลักในการเรียนอรรถกถา.
บทว่า ทกฺขา แปลว่า ผู้หลักแหลม ความว่า ผู้มีปกติ ทำงานที่
ควรทำได้รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด.
บทว่า อนลสา แปลว่า ผู้ปราศจากความเกียจคร้าน.
บทว่า ตตฺรูปายาย แปลว่า เป็นทางดำเนินในการงานเหล่านั้น.
บทว่า วีมํสาย แปลว่า ด้วยปัญญาเลือกเฟ้นการงานที่ควรทำ.
บทว่า สมนฺนาคตา แปลว่า ประกอบพร้อม.
สองบทว่า อลํ สํวิธาตุํ ได้แก่ เป็นผู้สามารถเพื่อทำการงานนั้น.
สองบทว่า อลํ สํวธาตุํ ได้แก่ เป็นผู้สามารถแม้จะจัดการอย่างนี้
ว่า การงานนี้จงเป็นอย่างนี้ และการงานนี้จงเป็นอย่างนั้น.
สองบทว่า กตากตํ ชานิตุํ คือ เพื่อรู้งานที่ทำแล้ว และยังมิได้ทำ.
บทว่า เต มีความว่า ชนทั้งสองนั้น คือ ภิกษุณีสุนทรีนันทากับ
นายสาฬหะนั้น.
บทว่า ภตฺตคฺเค คือ ในสถานที่อังคาส.
บทว่า นิกฺกุฑฺเฑ คือ เป็นที่ลึกซ่อนเร้นอันแสดงให้เห็นคล้าย
มุมฉาก.
สามบทว่า วิสฺสโร เม ภวิสฺสติ มีความว่า เสียงอื้อฉาวจักมีแก่
เรา คือ จักมีเสียงฉาวโฉ่ต่าง ๆ แก่เรา.
บทว่า ปฏิมาเนนฺตี แปลว่า คอยดูอยู่.
บทว่า กยาหํ ตัดบทเป็น กึ อหึ แปลว่า ทำไม ผม (จะไม่
รักแม่เจ้าเล่า ขอรับ )

บทว่า ชราทุพฺพลา คือ ทุพพลภาพเพราะชรา.
บทว่า จรณคิลานา คือ ประกอบด้วยโรคเท้าเจ็บ.
บทว่า อวสฺสุตา มีความว่า เป็นผู้มีความกำหนัด คือ เปียกชุ่ม
อยู่ด้วยความกำหนัด ในการเคล้าคลึงกาย. แต่ในบทภาชนะแห่ง บทว่า อวสฺสุตา
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาราคะนั้นทีเดียวจึงตรัสคำว่า สารตฺตา
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารตฺตา คือ ผู้มีความกำหนัดอย่าง
หนักด้วยกายสังสัคคราคะ ดุจผ้าถูกย้อมด้วยสี ฉะนั้น.
บทว่า อเปกฺขวตี มีความว่า ผู้ประกอบด้วยความเพ่งเล็งที่เป็นไป
ในบุรุษนั้น ด้วยอำนาจแห่งความกำหนัดนั้นนั่นแหละ.
บทว่า ปฏิพทธฺจิตฺตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตดุจถูกความกำหนัดนั้น
ผูกพันไว้ในบุรุษนั้น. แม้ในวิภังค์แห่งบทที่ 2 ก็มีนัยอย่างนี้.
บทว่า ปุริสปุคฺคลสฺส ได้แก่ บุคคลกล่าวคือบุรุษ.
บทว่า อธกฺขกํ คือ ใต้รากขวัญลงไป.
บทว่า อุพฺภชานุมณฺฑลํ คือ เหนือมณฑลเข่าทั้งสอง ขึ้นมา. แต่
ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยลำดับแห่งบททีเดียวว่า เหฏฺฐกฺ-
ขกํ อุปริชานุมณฺฑลํ
ใต้รากขวัญเหนือมณฑลเข่า ดังนี้.
ก็ในบทว่า อุปริชานุมณฺฑลํ นี้ แม้เหนือศอกขึ้นมา ท่านก็
สงเคราะห์เข้าด้วยเหนือมณฑลเข่าขึ้นมาเหมือนกัน. คำที่เหลือบัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์นั่นแล.
สองบทว่า ปุริมาโย อุปาทาย มีความว่า ทรงเทียบเคียงภิกษุณี
4 รูป ผู้ต้องอาบัติปาราชิกกับด้วยปาราชิกที่ทั่วไป (4 มีเมถุนเป็นต้น ).

ก็คำว่า อุพฺภชานุมณฺฑิกา นี้ เป็นเพียงชื่อแห่งอาบัติปาราชิกนี้;
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงวิจารณ์ไว้ในบทภาชนะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่พระองค์ทรงแสดงไว้โดยลำดับ
แห่งบทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยความต่างกันแห่ง
ความเป็นผู้มีความกำหนัดเป็นต้น จึงได้ตรัสคำว่า อุภโต อวสฺสุเต เป็นต้น.
ว่าด้วยทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัดจับต้องกายเป็นต้น
ในคำว่า อุภโ ต อวสฺสุเต เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า อุภโต อวสฺสุเต คือ เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด.
ความว่า เมื่อภิกษุณีและบุรุษเป็นผู้มีความกำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ.
สามบทว่า กาเยน กายํ อามสติ มีความว่า ภิกษุณีจับต้องกาย
ของบุรุษส่วนใดส่วนหนึ่งด้วยกายตามที่กำหนดไว้ หรือว่า บุรุษจับต้องกาย
ของภิกษุณีตามที่กำหนดไว้ ด้วยกาย (ของตน) ส่วนใดส่วนหนึ่ง. เป็นปาราชิก
แก่ภิกษุณีแม้โดยประการทั้งสอง.
สองบทว่า กาเยน กายปฏิพทฺธํ คือ (ภิกษุณีถูกต้อง) ของเนื่อง
ด้วยกายของบุรุษด้วยกายของตน มีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในบทว่า อามสติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี จงจับต้องเองหรือจง
ยินดีการจับต้องของบุรุษนั้นก็ตามที เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน .
สองบทว่า กายปฏิพทฺเธน กายํ ได้แก่ ภิกษุณีจับต้องกายของ
บุรุษ ด้วยของเนื่องด้วยกายมีประการดังกล่าวแล้วของตน.
แม้ในบทว่า อามสติ นี้ ก็มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณีจงจับต้องเองหรือ
จงยินดีการจับต้องของบุรุษก็ตามที เป็นถุลลัจจัยทั้งนั้น. แม้ในบทที่เหลือ ก็
พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยนี้แล. แต่ถ้าเป็นภิกษุกับภิกษุณีด้วยกัน ในภิกษุกับ

ภิกษุณีนั้น ถ้าภิกษุณีจับต้อง ภิกษุเป็นผู้นิ่งไม่ไหวติงแต่ยินดีด้วยจิต พระวินัย-
ธรไม่ควรปรับภิกษุด้วยอาบัติ. ถ้าภิกษุจับต้อง ภิกษุณีเป็นผู้นิ่งไม่ไหวติง
แต่ยินดี (ยอมรับ) ด้วยจิตอย่างเดียว แม้ไม่ให้ส่วนแห่งกายไหว พระวินัยธร
ก็พึงปรับด้วยปาราชิกในเขตแห่งปาราชิก ด้วยถุลลัจจัยในเขตแห่งถุลลัจจัย
ด้วยทุกกฏในเขตทุกกฏ. เพราะเหตุไร ? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย. นี้เป็นวินิจฉัย ในอรรถกถาทั้งหลาย. ก็เมื่อมีวินิจฉัย
อย่างนี้ ความที่สิกขาบทนี้มีการทำเป็นสมุฏฐาน ไม่ปรากฏให้เห็น เพราะเหตุ
นั้นความที่สิกขาบทมีการทำเป็นสมุฏฐานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พวกอาจารย์
กล่าวไว้โดยนัย คือความที่สิกขาบทนั้นมีการทำเป็นสมุฏฐานทั้งนั้นเป็นส่วน
มาก.
บทว่า อุพฺภกฺขกํ แปลว่า เบื้องบนแห่งรากขวัญทั้งสอง.
บทว่า อโธชานุมณฺฑลํ แปลว่า ภายใต้แห่งมณฑลเข่าทั้งสอง. อนึ่ง
แม้เหนือข้อศอกขึ้นมา ท่านก็สงเคราะห์เข้าด้วยเหนือมณฑลเข่าเหมือนกัน ใน
บทว่า อโรชานุมณฑลํ นี้.
ในคำ เอกโต อวสฺสุเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เอกโต
ไว้โดยไม่แปลกกัน แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เมื่อภิกษุณีมี
ความกำหนัดเท่านั้น ความต่างแห่งอาบัตินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้.
ในสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้ :- ภิกษุณีกำหนัดด้วย
ความกำหนัดในการเคล้าคลึงกาย ถึงบุรุษก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อมีความยิน
ดีในการเคล้าคลึงกาย ในกายประเทศตั้งแต่รากขวัญลงมา เหนือมณฑลเข่าขึ้น
ไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี. ภิกษุณีมีความกำหนัดในการเคล้าคลึงกาย. ฝ่าย
บุรุษมีความกำหนัดไม่เมถุน หรือมีความรักอาศัยเรือน หรือมีจิตบริสุทธิ์ก็ตาม

ที เป็นถุลลัจจัย ทั้งนั้น. ภิกษุณีมีความกำหนัดในเมถุน, ฝ่ายบุรุษมีความ
กำหนัดในการเคล้าคลึงกาย หรือมีความกำหนัดในเมถุนหรือมีความรักอาศัย
เรือน หรือมีจิตบริสุทธิ์ก็ตามที เป็นทุกกฏ. ภิกษุณีมีความรักอาศัยเรือน,
ฝ่ายบุรุษมีจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ 4 ที่กล่าวแล้วเป็นทุกกฏเหมือนกัน.
ภิกษุณีมีจิตบริสุทธิ์, แต่บุรุษมีจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ 4 ที่กล่าวแล้ว
ไม่เป็นอาบัติ. แต่ถ้าเป็นภิกษุ กับภิกษุณี ทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัดในการ
เคล้าคลึงกาย, ฝ่ายภิกษุเป็นสังฆาทิเสส, ภิกษุณีเป็นปาราชิก. ภิกษุณีมีความ
กำหนัดในการเคล้าคลึงกาย, ฝ่ายภิกษุมีความกำหนัดในเมถุนก็ดี ความรัก
อาศัยเรือนก็ดี เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. ทั้งสองฝ่ายมีความ
กำหนัดในเมถุนก็ดี มีความรักอาศัยเรือนก็ดี เป็นทุกกฏเหมือนกันแม้ทั้งสอง
ฝ่าย. ฝ่ายใดมีจิตบริสุทธิ์ ในฐานะ (มีการจับต้องเป็นต้น) ใด, ฝ่ายนั้นไม่เป็น
อาบัติในฐานะนั้น. แม้ทั้งสองฝ่ายมีจิตบริสุทธิ์ก็ไม่เป็นอาบัติแม้ทั้งสองฝ่าย.
ในบทว่า อนาปตฺติ อสญฺจิจฺจ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี
จับต้องผิดพลาดไปก็ดี ส่งใจไปทางอื่นก็ดี ไม่รู้ว่า ผู้นี้เป็นชาย หรือหญิงก็
ดี ถึงถูกบุรุษนั้นถูกต้องก็ไม่ยินดีผัสสะนั้นก็ดี แม้เมื่อมีการจับต้องก็ไม่เป็น
อาบัติ. คำทีเหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก (ของภิกษุ) เป็นกิริยา สัญญา-
วิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 2 ดังนี้แล.
อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ 1 จบ

ปาราชิกสิกขาบทที่ 2


เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา


[12] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
สุนทรีนันทามีครรภ์กับนายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ได้ปกปิดไว้จนมีครรภ์
อ่อน ๆ เมื่อครรภ์แก่แล้ว จึงสึกออกมาตลอดบุตร ภิกษุณีทั้งหลายได้ถาม
เรื่องนั้นกับภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า นางสุนทรีนันทาสึกไม่นานนัก ก็
คลอดบุตร ชะรอยนางจะมีครรภ์ทั้งเป็นภิกษุณีกระมัง เจ้าข้า.
ถุล. อย่างนั้น เจ้าข้า.
ภิก. ก็แม่เจ้ารู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก เหตุไฉนจึงไม่โจทด้วย
ตน ไม่บอกแก่คณะเล่า.
ถุล. โทษอันใดของเธอ นั่นเป็นโทษของดิฉัน การเสื่อมเกียรติอันใด
ของเธอ นั่นเป็นการเสื่อมเกียรติของดิฉัน การเสื่อมยศอันใดของเธอ นั่นเป็น
การเสื่อมยศของดิฉัน การเสื่อมลาภอันใดของเธอ นั่นเป็นการเสื่อมลาภของ
ดิฉัน ไฉนดิฉันจักบอกโทษของตน การเสื่อมเกียรติของตน การเสื่อมยศของ
ตน การเสื่อมลาภของตน แก่คนเหล่าอื่นเล่า.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่าแม่เจ้าถุลลนันทารู้อยู่ซึ่งภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไฉนจึงไม่โจทด้วยตน ไม่
บอกแก่คณะเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ความเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.